บริษัท ไฟฟ้าไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด – Thai Electric Corporation Limited (2482-2492)

สิ่งสะสมไปรษณีย์ อากรแสตมป์ เอกสารเก่าของประเทศไทยในอดีต
บริษัท ไฟฟ้าไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด – Thai Electric Corporation Limited (2482-2492)
ธนาคารศรีนคร เป็นธนาคารของไทย เปิดดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 (ในอดีตใช้ชื่อว่า “ธนาคารสิงขร“) โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด ณ อาคารเลขที่ 84 ถนนยุคล 2 แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น โดยมีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม “ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)”ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: The Siam Commercial Bank Public Company Limited ชื่อย่อ: SCB) เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกและเป็นหนึ่งใน 5 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2449
งานชลประทาน เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดลอกคลองและขุดคลองขึ้นใหม่ในบริเวณ ทุ่งราบภาคกลางจำนวนมาก ดำเนินการโดยเอกชน คือ บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม (Siam Canals, Lands and Irrigation Company) ได้รับพระบรมราชานุญาต เมื่อ พ.ศ. 2431 เริ่มขุดคลองเมื่อพ.ศ. 2433 มีระยะเวลาดำเนินการ ตามสัมปทาน 25 ปี โครงการประกอบด้วยการ ก่อสร้างระบบคลอง ในบริเวณพื้นที่ราบฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เขตจังหวัดปทุมธานี ที่เรียกว่า ทุ่งรังสิต โดยขุดคลองสายใหญ่ เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงไปยังแม่น้ำนครนายก พร้อมกับการสร้างประตูระบายน้ำ สำหรับ ควบคุมการเก็บกักน้ำเพื่อการเพาะปลูก และสร้างประตู เรือสัญจรเพื่อการคมนาคมขนส่งทางน้ำตลอดทั้งปี
อ่านเพิ่มเติม “กรมชลประทาน (Royal Irrigation Department)”กรุงเทพฯ พ.ศ. 2435 – น.พ.โธมัส เฮย์วาร์ด เฮส์ ขณะนั้นเป็น ผอ.โรงพยาบาลบางรัก (ปัจจุบันคือ ร.พ.เลิดสิน) ได้ร่วมทุนกับ น.พ.ปีเตอร์ กาแวน เปิดร้านขายยา โดยใช้ชื่อว่า “British Dispensary” ตั้งอยู่ที่ปากตรอกโรงภาษีข้าม ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปงูถูกลูกศรปักที่หัว แต่คนไทยสมัยนั้นเรียกชื่อง่ายๆว่า “ห้างขายยาอังกฤษตรางู” ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้ขยายสาขาขึ้นอีกแห่งที่สี่กั๊กพระยาศรี หมอเฮย์ได้เป็นเจ้าของห้างฯแต่ผู้เดียว โดยรับโอนหุ้นจากหมอกาแวน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2449 จึงได้ขายกิจการทั้งหมดให้แก่คนปรุงยาในร้านคือ มร.แมคเบธ
พ.ศ. 2471 – มร.แมคเบธ ต้องการขายกิจการห้างขายยาอังกฤษตรางู จึงได้ติดต่อนายล้วน ว่องวานิช หรือคนทั่วไปเรียก หมอล้วน ผู้ซึ่งอพยพจากเมืองจีนมาสยามตั้งแต่อายุ 12 ปี มีโอกาสเข้าเรียนที่อัสสัมชัญ หมอล้วนเคยทำงานที่ห้างฯ มาก่อน มีประสบการณ์การปรุงยา ได้รับประกาศนียบัตรเป็นเภสัชกรและนายแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความคุ้นเคยและไ้ว้เนื้อเชื่อใจ มร.แมคเบธจึงบอกขายห้างฯ แก่หมอล้วนเป็นรายแรก ซึ่งหมอล้วนตกลงทันที โดยรวบรวมเงินส่วนตัวและกู้ยืมมาซื้อกิจการห้างฯ ในราคาหนึ่งแสนบาท
ห้างขายยาอังกฤษตรางู ภายใต้การบริหารของหมอล้วน มีความเจริญก้าวหน้าจนถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา เกิดความขาดแคลนในทุกด้าน และด้วยเป็นคนชอบช่วยเหลือผู้อื่น การส่งยาไปช่วยเหลือชาวจีนในประเทศจีนของหมอล้วน ทำให้รัฐฯ ไม่พอใจ หมอล้วนต้องลี้ภัยไปฮ่องกง และส่งบุตรชาย นายบุญยง ว่องวานิช ขณะนั้นอายุ 17 ปี ที่กำลังเรียนที่ฮ่องกงกลับไทย เพื่อมาดูแลกิจการห้างฯ ซึ่งต้องเปลี่ยนชื่อชั่วคราวเป็น “ห้างขายยาตรางู” เนื่องจากอังกฤษเป็นชนชาติศัตรูในขณะนั้น ขณะเดียวกันหมอล้วนเดินทางไปเป็นหมอที่สภากาชาดมณฑลกวางสี ได้ร่วมคณะช่วยเหลือเสรีไทยในการปฏิบัติหน้าที่ของนายสงวน ตุลารักษ์ครั้งนั้นด้วย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หมอล้วนกลับมาฟื้นฟูห้างฯ ขยายกิจการเจริญรุดหน้า ทั้งการผลิตยา/รับจ้างผลิตยาสามัญประจำบ้าน เครื่องสำอางค์ เช่น แป้งน้ำควินนา และเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ พ.ศ. 2494 – หมอล้วนพัฒนาสินค้าใหม่คือ แป้งเด็กเซนลุกซ์ โดยใช้รูปหลานคนแรกเป็นเครื่องหมายการค้า สินค้าที่เป็นสัญลักษณ์คู่กับห้างฯ อีกชนิดหนึ่งคือ แป้งเย็นปริกลี่ฮีทตรางู ซึ่งถือกำเนิดในปี พ.ศ. 2495 และยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน พร้อมกับการบริหารของทายาทรุ่น 3 ที่ยังคงยึดหลักธรรมในการประกอบธุรกิจเฉกเช่นหมอล้วน (https://www.facebook.com/chieanchuang.kalayanamitr/posts/10213120293099501)
เรื่อง/ภาพ – หนังสือ 100 ปี ห้างขายยาอังกฤษ(ตรางู)
ห้างรัตนมาลาจำกัดสินใช้ แยกพาหุรัด พ.ศ.2463 เป็นร้านเก่าแก่ ขายสินค้านานาชนิด ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยก่อนก็คือตะเกียงเจ้าพายุ ต่อมาถูกรื้อเพื่อสร้างดิโอล์ดสยามพลาซ่า
บริษัท รัตนมาลา จำกัด เปิดเป็นร้านค้าแห่งแรกที่ตึกมุมถนนพาหุรัดกับถนนตรีทองมีชื่อว่า“ห้างสยามตรีเพ็ชร” การค้าเจริญขึ้นตามลำดับ จึงขยายกิจการเปิดสถานการค้าขึ้นอีกแห่งหนึ่งให้ชื่อว่า“ห้างรัตนมาลา” เมื่อตึกห้างสยามตรีเพ็ชร ทางราชการต้องการขยายเป็นถนนประมาณ พ.ศ. 2474 จึงได้รวมกิจการค้าของห้างสยามตรีเพ็ชรเข้ากับห้างรัตนมาลาเป็นแห่งเดียวกัน
ตั้งแต่นั้นมา ห้างรัตนมาลาได้เจริญเป็นหลักฐานมั่นคงเป็นที่เชื่อถือของผู้ติดต่อการค้าทั่วไป
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (Siam City Bank Public Company Limited (SCIB) ) เป็นอดีตธนาคารไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ในชื่อ “ธนาคารนครหลวงแห่งประเทศไทย” โดยคณะบุคคลของรัฐบาลร่วมกับสมาชิกในราชวงศ์ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1,000,000 บาท มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย มีตราสัญลักษณ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นรูป “พระมหามงกุฎ” ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ธนาคารนครหลวงไทย” และใช้ชื่อนี้ต่อมาจนควบรวมกับธนาคารธนชาตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ด้วยปัญหาสภาพเศรษฐกิจ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้ต้องมีการตัดทอน ส่วนราชการที่ซ้ำซ้อน เพื่อประหยัดงบประมาณแผ่นดิน จึงได้ยุบกระทรวงคมนาคม แล้วรวมเข้ากับ กระทรวงพาณิชย์ เป็น กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในปี 2475 (ต่อมาได้รวมกับ กระทรวงเกษตราธิการ เป็น กระทรวงเกษตรพาณิชยการ และ กระทรวงเศรษฐการ ตามลำดับ)
ต่อมาได้ตรา พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2477 กำหนดหน้าที่ใน กระทรวงเศรษฐการออกเป็นทบวง โดยได้จัดตั้ง ทบวงพาณิชย์และคมนาคม ก่อนที่จะยุบอีกครั้ง ในปีเดียวกัน
จนกระทั่งในปี 2484 ก็ได้มีการจัดตั้ง กระทรวงคมนาคม ขึ้นใหม่ ตาม พระราชบัญญัติ กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484
The East Asiatic Company: EAC บริษัทสัญชาติเดนมาร์กประจำประเทศไทย ซึ่งเปิดทำการในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย มาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2427 (ค.ต. 1884) โดย มร.เอ็ช เอ็น แอนเดอร์เซ่น กัปตันเรือชาวเดนมาร์ก
Hans Niels Andersen นักเดินเรือผู้ที่เคยทำงานให้กับกองทัพไทย หลังจากผันตัวมาทำการค้า Hans Niels Andersen ได้ประชุมจัดตั้ง The East Asiatic Company ขึ้นที่เมือง Copenhagen ประเทศ Denmark ต่อมาได้ขยายกิจการมาถึงสยามประเทศ ความสำเร็จของบริษัทนี้มาจากการทำธุรกิจเดินเรือที่ขยายเส้นทางไปทั่วโลก ในอดีต The East Asiatic Company ยังมั่งคั่งจากการส่งออกไม้สักและยางพาราของไทยไปขายที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรป